วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การดูแลรักษา FLUTE


มารู้จักวิธีการดูแลรักษา FLUTE ของเรากันนะคะ *∩_∩* 


      ในการดูแลรักษา ควรมีการดูแลเป็นพิเศษในการล้างตัวฟลูต คือ ใช้น้ำยาล้างเฉพาะเครื่อง และระมัดระวังในการล้างตัวเครื่อง อย่าให้น้ำยาโดนบริเวณนวมเพราะจะทำให้นวมเกิดการพองหรือบิดเบี้ยวได้
          - ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทุกครั้งหลังบรรเลงเสร็จ เนื่องจากเหงื่อที่มือจะทำให้เกิดความชื้นและอาจเกิดสนิมได้
          - เมื่อบรรเลงเสร็จหรือวางเครื่องดนตรีระหว่างฟังการบรรเลงควรเก็บเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ในกล่องเฉพาะของเครื่องดนตรีนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน




    

การแบ่งระดับคุณภาพของฟลูต


การแบ่งระดับคุณภาพของ FLUTE ??



รุ่นมาตรฐาน Standard Model

Yamaha 2xx
Eastman Haynes
Amadeus Haynes 500, 520
Tomasi 9
Sankyo 201
Muramatsu EX
Armstrong
Artley
Trevor James
Germeinhardt Standard 

รุ่นกลางหัวเป่าทำจากเงิน Silver Head Flute


Yamaha 3xx, 5xx
Amadeus Haynes 600, 800
Tomasi 9
Sankyo 201,
Muramatsu GX
Silver head Armstrong
Silver head Artley
Silver head Germeinhardt
Any other flutes with silver head joint 
รุ่นกลางตัวเครื่องทำจากเงิน Silver Head and Body Flute

Yamaha 4xx, 6xx 
Sankyo 301
Muramatsu GX
All Haynes Classic and Customs
Silver body Armstrong
Silver body Artley
Silver body Germeinhardt
Any other flutes with silver body 

รุ่นกลางเครื่องทำจากเงินหรือทอง Professional Model, All silver or Gold Flutes
Yamaha 7xx or up
Amadeus Haynes 700, 900
Sankyo 401, 501, 601 or up
Muramatsu DS or up
Powell Conservatory or up
Any flutes with all silver




ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.melodysolutions.net/15168739/

มารู้จัก ส่วนประกอบ ฟลูต กัน


วันนี้จะมาแนะนำ ส่วนประกอบของ ฟลูต ให้รู้จักกัน....  (◕〝◕) 



Headjoint  ❥ หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
    - Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง
    - Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plate จะมีปากเป่า (Embouchure) เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลม                              เข้าไป
    - Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลูต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้







Body  ❥ เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น
               E Mechanism


Foot ❥ คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C ครึ่งเสียง) ฟลูตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot





มาดู มาดู... ก่อนจะมาเป็นฟลูตให้เราเป่า.. ≧0≦










ABOUT FLUTE



ประเภทของฟลูต





     ฟลูตมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา, โดยพื้นฐานแล้วฟลูตก็คือ ท่อปลายเปิดที่ถูกเป่าให้มีเสียง (เหมือนการเป่าขวด) เมื่อมีความต้องการการเครื่องดนตรีที่มีความสามารถมากขึ้น ได้ทำให้เกิดการพัฒนาจนเกิด ฟลูตตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มของแป้นกดที่มีความซับซ้อน

     ฟลูตถูกแบ่งเป็นหลายประเภท โดยส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเป่าไปที่ขอบของฟลูตเพื่อให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ฟลูตบางประเภทอย่างเช่น ขลุ่ย, นกหวีด จะมีท่อนำลมไปยังขอบ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเล่น แต่จะทำให้ไม่สามารถควบคุมลักษณะของเสียงได้เช่นเดียวกับการผิว โดยปรกติแล้ว ขลุ่ยจะไม่ถูกเรียกว่าฟลูต ถึงแม้ว่ากายภาพ วิธีการ และเสียง จะคล้ายกับฟลูตก็ตาม

การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งก็การแบ่งระหว่าง การเป่าด้านข้าง (Transverse) และการเป่าจากส่วนบน

กลุ่มหลัก ๆ ของฟลุตประกอบไปด้วย ปิคโคโล คอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุต เบสฟลุต คอนทราเบสฟลุต ซึ่งแต่ละชนิดจะมีช่วงของเสียงแตกต่างกัน ปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลูต ไป 1 คู่แปด แต่การเขียนโน้ตจะเขียนเช่นเดียวกับคอนเสิร์ตฟลูต อัลโตฟลูตจะให้เสียง G (โซ) ซึ่งต่ำกว่า C (โด) กลาง เสียงสูงที่สุดที่อัลโตฟลูตจะเล่นได้คือ G (โซสูง) อยู่บนเสี้นที่ 4 เหนือบรรทัด 5 เส้น เบสฟลูตจะให้เสียงต่ำกว่าคอนเสิร์ตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด เป็นฟลูตที่ไม่ค่อยถูกนำมาเล่น มีทั้ง ฟลูตเสียงสูง ที่ให้เสียง G (โซ) ที่ให้เสียงสูงกว่า อัลโตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด, โซปราโนฟลูต, เทเนอร์ฟลูต ฯลฯ โดยฟลูตที่มีขนาดแตกต่างจาก ฟลูต และ ปิคโคโล บางครั้งจะถูกเรียกว่า ฮาร์โมนีฟลูต








วัสดุที่ใช้ทำฟลูต





นิเกิล  ใช้ทำฟลูตระดับนักเรียน หรือสำหรับผู้หัดเล่น ฟลูตทำจากวัสดุประเภทนี้จะมีราคาถูก มีการตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนต่ำ ให้เสียงที่ทึบ

นิเกิล-ซิลเวอร์เกิดจากการนำทองแดงผสมนิเกิล และโลหะอื่นๆอีกเล็กน้อยตามที่ผู้ผลิตต้องการ โลหะชนิดนี้ไม่มีเงินผสมอยู่ แต่มีสีเหมือนเงิน จึงเรียกว่านิเกิล-ซิลเวอร์ และมักถูกเคลือบด้วยเงินอีกชั้น ฟลูตชนิดนี้ให้เสียงที่สว่าง การตอบสนองดี ราคาสูงกว่าแบบนิเกิล

เงิน ● (Silver, Stiring Silver) ให้การตอบสนองและการโปรเจกต์เสียงที่ดีกว่านิเกิ้ลซิลเวอร์ ราคาแพงกว่าแบบนิเกิล-ซิลเวอร์มาก







มารู้จัก FLUTE กันเถอะ


ฟลูต 

  
      



             ฟลูต  (อังกฤษ: flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจาดการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน
        

         ประวัติ




            ฟลูต เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีชิ้นแรก ๆ ของโลก ฟลูตที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน ค.ศ. ฟลูตได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลูตในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์


ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลูตใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลูตสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงเจิดจ้าขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ โอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย


     

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

LET'S START



      มาเริ่มเล่นฟลูตกันเถอะ... ^__^


วิธีจับฟลูตเบื้องต้น





เป่าครั้งแรกให้มีเสียงดังและถูกต้อง


WELCOME TO FLUTIST HOUSE



FLUTIST HOUSE




บ้านของคนรักฟลูต .. 

แหล่งรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับฟลูตที่คุณต้องการทราบ